วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติกางเกงยีนส์

ผู้ผลิตกางเกงยีนส์รายแรกคือลีวาย
        ผู้ผลิตกางเกงยีนส์รายแรกของโลกคือ "ลีวาย สเตราส์" (Levi Strauss) หรือที่เรารู้จักกันอยู่ในยี่ห้อลีวายส์นั่นเอง เขาเป็นชาวอเมริกัน เริ่มนำผ้ายีนส์มาตัดกางเกงเมื่อ ราวปี ค.ศ.1850 หรือ พ.ศ.2393 โดยตั้งชื่อกางเกงยีนส์ตามชื่อผ้าฝ้าย

        แต่ผ้ายีนส์ไม่ได้มีแหล่งกำเนิดในอเมริกา หากแต่มีผู้ทำขึ้นมาในนครเจนัว (Genoa) เมืองท่าของประเทศอิตาลี กลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งทางประเทศอังกฤษสั่งนำเข้าผ้าชนิดนี้ ด้วยความทึ่งในความทนทาน และเรียกผ้านี้รวมๆว่า Fustian ซึ่งแปลว่าผ้าสีเนื้อหยาบ

        ต่อมาระหว่างที่เรือขนส่งสินค้าเดินทางจากอิตาลีมาอังกฤษ ต้องผ่านประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคนเมืองน้ำหอมเรียกเมืองเจนัวว่า "แชน" (Genes ภาษาฝรั่งเศสมีหมวกที่ e ตัวแรก) และเรียกสินค้าจากเจนัวว่า "ชีน" (Jene) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็น "ชอง" (Jean)พอมาถึงอังกฤษ คนผู้ดีจะอ่านคำว่า "Jean" ว่า "จีน" หรือ"ยีน" เช่นเดียวกับคนอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อคนนำผ้ายีนส์นี้ไปตัดกางเกง ก็ต้องเป็นคำที่เติม s จึงเรียกว่า "Jeans ยีนส์" นั่นเอง

แม็คยีนส์
        สำหรับยีนส์ที่เข้ามาในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจซักอบรีดเสื้อผ้าที่ชื่อ "ซินไฉฮั้ว" มีคุณพิพัฒน์ กัญจนาภรณ์ ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของ "ซินไฉฮั้ว" ธุรกิจ เป็นผู้บุกเบิกและดำเนินธุรกิจสาขาใหม่นั่นคือธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเสื้อผ้า ภายใต้ชื่อ บริษัท ยูนิคการ์เมนต์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด รับผลิตสินค้าตามแบรนด์จากต่างประเทศ และจากธุรกิจส่งออกนี้เองทำให้คุณพิพัฒน์มองเห็นช่องทางธุรกิจใหม่ คือการฟอกกางเกงยีนส์ส่งออก จึงได้ก่อตั้ง บริษัท ซินไฉฮั้วอุตสาหกรรม จำกัด เพื่อรับฟอกกางเกงยีนส์ส่งออก โดยได้ซื้อที่ดินย่านถนนร่มเกล้า กว่า 40 ไร่ไว้รองรับ และให้ “ซินไฉฮั้วอุตสาหกรรม” เป็นผู้เข้าไปตั้งบุกเบิกพื้นที่

        "ซินไฉฮั้ว" เริ่มก่อตั้งเป็นบริษัทผลิตกางเกงยีนส์ เต็มตัวในปี 2533 รับผลิตและจัดจำหน่าย เสื้อผ้ายีนส์ ภายใต้แบรนด์ "แม็คยีนส์"

        ยี่ห้อ "แม็ค" มาจากคำขึ้นต้นชื่อของผู้ชายชาวสกอตติช เป็นคำที่จดจำง่ายสำหรับคนไทย แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้านแล้วจะเรียกแบรนด์นี้ว่า ยี่ห้อ "เอ็มซี"

        ต่อมาในปี 2546 ได้ก่อตั้งโรงงานแห่งที่สอง ตั้งชื่อว่าบริษัทพีเค การ์เมนท์ ผลิตเสื้อเชิ้ต เสื้อยืด และแจ็กเกต

        และในปี 2548 ลงทุนนำเข้า เครื่องมือทันสมัย พร้อมเครื่องเลเซอร์ยิงลายยีนส์ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าเดียวในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น