วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติกางเกงยีนส์

ผู้ผลิตกางเกงยีนส์รายแรกคือลีวาย
        ผู้ผลิตกางเกงยีนส์รายแรกของโลกคือ "ลีวาย สเตราส์" (Levi Strauss) หรือที่เรารู้จักกันอยู่ในยี่ห้อลีวายส์นั่นเอง เขาเป็นชาวอเมริกัน เริ่มนำผ้ายีนส์มาตัดกางเกงเมื่อ ราวปี ค.ศ.1850 หรือ พ.ศ.2393 โดยตั้งชื่อกางเกงยีนส์ตามชื่อผ้าฝ้าย

        แต่ผ้ายีนส์ไม่ได้มีแหล่งกำเนิดในอเมริกา หากแต่มีผู้ทำขึ้นมาในนครเจนัว (Genoa) เมืองท่าของประเทศอิตาลี กลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งทางประเทศอังกฤษสั่งนำเข้าผ้าชนิดนี้ ด้วยความทึ่งในความทนทาน และเรียกผ้านี้รวมๆว่า Fustian ซึ่งแปลว่าผ้าสีเนื้อหยาบ

        ต่อมาระหว่างที่เรือขนส่งสินค้าเดินทางจากอิตาลีมาอังกฤษ ต้องผ่านประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคนเมืองน้ำหอมเรียกเมืองเจนัวว่า "แชน" (Genes ภาษาฝรั่งเศสมีหมวกที่ e ตัวแรก) และเรียกสินค้าจากเจนัวว่า "ชีน" (Jene) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็น "ชอง" (Jean)พอมาถึงอังกฤษ คนผู้ดีจะอ่านคำว่า "Jean" ว่า "จีน" หรือ"ยีน" เช่นเดียวกับคนอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อคนนำผ้ายีนส์นี้ไปตัดกางเกง ก็ต้องเป็นคำที่เติม s จึงเรียกว่า "Jeans ยีนส์" นั่นเอง

แม็คยีนส์
        สำหรับยีนส์ที่เข้ามาในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจซักอบรีดเสื้อผ้าที่ชื่อ "ซินไฉฮั้ว" มีคุณพิพัฒน์ กัญจนาภรณ์ ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของ "ซินไฉฮั้ว" ธุรกิจ เป็นผู้บุกเบิกและดำเนินธุรกิจสาขาใหม่นั่นคือธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเสื้อผ้า ภายใต้ชื่อ บริษัท ยูนิคการ์เมนต์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด รับผลิตสินค้าตามแบรนด์จากต่างประเทศ และจากธุรกิจส่งออกนี้เองทำให้คุณพิพัฒน์มองเห็นช่องทางธุรกิจใหม่ คือการฟอกกางเกงยีนส์ส่งออก จึงได้ก่อตั้ง บริษัท ซินไฉฮั้วอุตสาหกรรม จำกัด เพื่อรับฟอกกางเกงยีนส์ส่งออก โดยได้ซื้อที่ดินย่านถนนร่มเกล้า กว่า 40 ไร่ไว้รองรับ และให้ “ซินไฉฮั้วอุตสาหกรรม” เป็นผู้เข้าไปตั้งบุกเบิกพื้นที่

        "ซินไฉฮั้ว" เริ่มก่อตั้งเป็นบริษัทผลิตกางเกงยีนส์ เต็มตัวในปี 2533 รับผลิตและจัดจำหน่าย เสื้อผ้ายีนส์ ภายใต้แบรนด์ "แม็คยีนส์"

        ยี่ห้อ "แม็ค" มาจากคำขึ้นต้นชื่อของผู้ชายชาวสกอตติช เป็นคำที่จดจำง่ายสำหรับคนไทย แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้านแล้วจะเรียกแบรนด์นี้ว่า ยี่ห้อ "เอ็มซี"

        ต่อมาในปี 2546 ได้ก่อตั้งโรงงานแห่งที่สอง ตั้งชื่อว่าบริษัทพีเค การ์เมนท์ ผลิตเสื้อเชิ้ต เสื้อยืด และแจ็กเกต

        และในปี 2548 ลงทุนนำเข้า เครื่องมือทันสมัย พร้อมเครื่องเลเซอร์ยิงลายยีนส์ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าเดียวในประเทศไทย

ประวัติชักโครก

ประวัติของชักโครก
        ขุนนางชาวอังกฤษชื่อ "เซอร์จอห์น แฮริงตัน" ได้ประดิษฐ์ส้วมชักโครกรุ่นแรกขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1596 (พ.ศ. 2139) มีถังพักน้ำติดตั้งสูงเหนือโถส้วม เมื่อกดชักโครกแล้ว น้ำจะดันของเสียผ่านท่อไปยังถังเก็บ

        ต่อมาในปี ค.ศ. 1775 (พ.ศ. 2318) "อเล็กซานเดอร์ คัมมิงส์" ได้พัฒนาส้วมชักโครก โดยการดัดท่อระบายของเสียข้างใต้ที่ลงบ่อเกรอะให้เป็นรูปตัวยู สามารถกักน้ำไว้ในท่อ และยังกันกลิ่นของเสียไม่ให้ย้อนกลับขึ้นมาได้ นับเป็นต้นแบบของชักโครกที่ใช้งานในปัจจุบัน

        สำหรับประเทศไทยในระยะแรกที่ส้วมชักโครกเข้ามา คือช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2460-2490 ส้วมชักโครกคงมีเฉพาะตามวังและบ้านเรือนของผู้มีฐานะดีที่จบการศึกษาหรือเคยใช้ชีวิตในต่างประเทศ ไม่ค่อยแพร่หลายสู่คนทั่วไป ต่อมาเริ่มมีผู้ใช้ส้วมชักโครกมากขึ้นในช่วงที่มีการก่อสร้างบ้านแบบสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชักโครกในสมัยนั้นจะมีถังพักน้ำติดตั้งสูงเหนือโถ เมื่อชักโครกน้ำจะไหลลงมาชำระให้อุจจาระลงไปสู่ถังเซ็ปติกแทงก์ (Septic Tank) ที่ไว้เก็บกักอุจจาระกระทั่งต้นทศวรรษ 2500 โถส้วมชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมและมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ชักโครกหรู
        ส้วมชักโครกยุคปัจจุบันได้รับการพัฒนาทั้งด้านการออกแบบให้มีรูปทรงสวยงาม ทันสมัยและเทคโนโลยีการใช้งานเช่นเรื่องการประหยัดน้ำ ระบบชำระล้างที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เสียงเบาลงหรือมีระบบอัตโนมัติต่าง ๆ มากมาย

ประวัตินาฬิกา

นาฬิกาแดด
        ในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่มีนาฬิกาใช้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ดวงอาทิตย์จึงเป็นนาฬิกาเรือนแรกที่มนุษย์รู้จัก นักประวัติศาสตร์ชื่อ Herodotus ได้บันทึกไว้ว่า ประมาณ 3,500 ปีก่อน มนุษย์รู้จักใช้ นาฬิกาแดด ซึ่งนับว่าเป็นนาฬิกาเรือนแรกของโลก โดยสามารถอ่านเวลาได้จากเงาที่ตกทอดลงบนขีดเครื่องหมาย นาฬิกาแดด(Sundial)เป็นเครื่องบอกเวลาและเครื่องมือวัดเวลาวิธีธรรมชาติแบบหนึ่ง ทีมีใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่ปรากฎในแต่ละวันเป็นหลักสมัยโบราณก่อนที่จะเริ่มมีนาฬิกาจักรกลหรือนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ใช้บอกเวลาเช่นในปัจจุบันมนุษย์ใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากธรรมชาติเพื่อการกำหนดเวลาโดยเฉพาะใช้ดวงอาทิตย์เป็นเครื่องชี้บอกเวลาธรรมชาติที่สำคัญที่สุดเช่นเวลาเช้าดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาเที่ยงดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะ เวลาเย็นค่ำดวงอาทิตย์ตกลับจากขอบฟ้าส่วนเวลากลางวันในช่วงเวลาอื่นก็อาศัยสังเกตดูจากการทอดเงาของวัตถุใดวัตถุหนึ่งที่กำหนดให้เป็นเครื่องบอกเวลาของคนในท้องถิ่นนั้นซึ่งอาจไม่มีความเที่ยงตรง แต่ก็ยอมรับได้สมัยนั้นมาใช้กำหนดเวลาด้วยหลักการตามที่กล่าวมา มนุษย์ในระยะแรกจึงได้ประดิษฐ์คิดค้นนาฬิกาแดด (Sundisl)ให้มีรูปทรงที่เหมาะสมขึ้นมาใช้งานเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างง่าย

        นาฬิกาแดดคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฎ แต่จากหลักฐานพบว่านาฬิกาแดดพัฒนาขึ้น ในสมัยอียิปต์โบราณหรือราว 2000ปีมาแล้ว นาฬิกาแดดนั้นแสดงเวลาที่อาจคลาดเคลื่อนไปจากเวลานาฬิกาข้อมือของผู้สังเกต แต่ถ้าได้เข้าใจหลักการของนาฬิกาแดดแล้วนำค่าเวลามาแก้ไข เวลาที่ได้จะมีความถูกต้องพอสมควร ที่เป็นเช่นนี้เพราะนาฬิกาแดดนั้น แสดงเวลาธรรมชาติที่ควรจะเป็น ซึ่งต่างจากเวลาของนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาทั่วไปที่ใช้อยู่ปัจจุบันบอกวัดเวลาหรือแสดงเวลาที่ต้องการให้เป็น หมาายความว่าเวลาที่แสดงจากนาฬิกาแดดนั้นเป็นเวลาที่เราเรียกว่าเวลาดวงอาทิตย์ ณ ตำบลที่นั้นอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่เวลาท้องถิ่นสมมุติ หรือเวลาที่เราต้องการให้เป็น

นาฬิกาน้ำ
        ต่อมาชาวกรีกโบราณรู้จักพัฒนา นาฬิกาน้ำ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่านาฬิกาแดด เรียกว่า clepsydra ( คำนี้เป็นคำสนธิที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า clep ซึ่งแปลว่า ขโมย และคำ sydra ที่แปลว่า น้ำ ) เพราะนาฬิกานี้ทำงานโดยอาศัยหลักที่ว่า " ภาชนะดินเผาที่มีน้ำบรรจุเต็มเวลาถูกเจาะที่ก้นน้ำจะไหลออกจากภาชนะทีละน้อยๆ เหมือนการขโมยน้ำ " ดังนั้นชาวกรีกโบราณจึงได้กำหนดระยะเวลาที่น้ำไหลออกจนหมดภาชนะว่า 1 clepsydra ( สุทัศน์ ยกส้าน. 2544: 159 ) แต่นาฬิกาน้ำนี้ต้องมีการเติมน้ำใหม่ทุกครั้งที่หมดเวลา 1 clepsydra และในฤดูหนาวน้ำจะแข็งตัวทำให้ไม่สามารถใช้นาฬิกาได้

นาฬิกาควอตซ์
        ในปี ค.ศ.1929 Warren Morrison ได้ประดิษฐ์ นาฬิกาควอตซ์ ขึ้นเฉพาะที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก และในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( chip ) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามี นาฬิกาคอมพิวเตอร์ ใช้กันแล้ว

        สำหรับประเทศไทย คนไทยประดิษฐ์เครื่องบอกเวลาใช้เองเมื่อร้อยปีมาแล้ว คือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีวลีที่กำชับรับสั่งกับข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด มีความว่า " สยามจะอยู่รอด รักษาความเป็นไทไม่เป็นขี้ข้าฝรั่ง จะต้องทำให้คนไทยเชื่อมั่น และต่างชาติเชื่อว่าคนไทยนี้เก่ง " จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากรมอุทกศาสตร์ท่านแรกของสยาม ชื่อ Captain Loftus จัดทำ นาฬิกาแดด ไว้ให้เป็นเครื่องกำหนดหมายบอกเวลา แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนทุกวันนี้

ประวัติกระจก

ประวัติของกระจก


        ประวัติและความเป็นมาของกระจก กระจกเงา มาจาก “แก้ว” และแก้วก็มีประวัติยาวนานมากทีเดียว ตามตำราของพลินี ดิ เอลเดอร์ นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน เขียนไว้ว่า กลาสีที่อาศัยอยู่แถบโพลิเนเชียนเป็นผู้ค้นพบแก้ว จากการหุงหาอาหารที่ชายหาด ซึ่งตอนนั้นไม่มีภาชนะหม้อไหที่ไหน ก็เลยไปคุ้ยๆหาวัสดุในโกดังในเรือมาเป็นแผ่นเนตรอน (natron) มาหุงอาหาร ปรากฏว่า เมื่อเนตรอนถูกความร้อนถึงผสมกับทรายที่ชายหาด กลายเป็นของเหลวใสไหลเป็นสาย และเมื่อเย็นตัวก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “แก้ว” มาตั้งแต่นั้น

        แต่ก็มีความเชื่อว่า "แก้ว" เกิดก่อนหน้านั้นหลายพันปีทีเดียว ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล แถบเมโสโปเตเมีย หรือประเทศซีเรียและอิรักในปัจจุบัน แม้ว่าที่มาของช่วงเวลายังสรุปได้ไม่แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่มนุษย์ผลิตแก้วและกระจกอยู่ราว 50 ปีก่อนคริสตกาล โดยชาวโรมัน การผลิตแก้วใช้ปูนและโซดาผสมเข้ากับซิลิก้า ซึ่งมีอยู่ในเม็ดทราย ซิลิก้ามีจุดหลอมเหลวสูงมาก จะใช้ไฟธรรมดาหลอมไม่ได้ ต้องเข้าเตาหลอมพิเศษ อุณหภูมิสูงราว 1,590 องศาเซลเซียส จากนั้นเทแก้วหลอมลงบนผิวของดีบุกหลอมเหลว จะทำให้แก้วเย็นลงเมื่อถึงอุณหภูมิที่ 600 องศาและเริ่มแข็งตัวเป็นกระจกใส จากนั้นจึงนำไปเจียเป็นกระจกแผ่น

        สำหรับกระจกก็คือแก้วแผ่นเรียบ ที่ช่างต้องอาศัยการกดลูกแก้วให้แบนเป็นแผ่นด้วยการต่อเข้ากับปลายแท่งเหล็ก ซึ่งช่างก็จะต้องหมุนแท่งเหล็กนี้อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้แก้วเป็นกระจกแผ่นเรียบ ส่วนวิธีทำกระจกมีขั้นตอนเช่นเดียวกับแก้ว วัตถุดิบก็คือ “ทรายแก้ว” ซึ่งเป็นทรายสีขาว ละเอียดยิบและเงาจนเป็นประกาย เมืองไทยเรามีอยู่ที่เหมืองทรายแก้ว จ.ระยอง

        แก้วกลายเป็นกระจกเมื่อผ่านการขัดเงา และฉาบด้วยโลหะบางอย่าง ปกติแล้วโลหะนี้จะเป็นอลูมิเนียมฉาบด้วยความหนา 100 นาโนเมตร จะมีน้ำหนักเพียงไม่กี่กรัม นอกจากนี้กระจกยังฉาบด้วยทอง เงิน หรือบรอนซ์ก็ได้ ส่วนประโยชน์ของกระจกเงา นอกจากจะเอาไว้ส่องหน้าตัวเองแล้ว ยังเป็นวัสดุประดับอาคาร อุปกรณ์ชิ้นสำคัญในกล้องโทรทรรศน์ กล้องถ่ายภาพ หรือนำไปตกแต่งเป็นเครื่องประดับ

ประวัติกาแฟ

ประวัติของกาแฟ
        คำว่า "กาแฟ" เดิมมาจากคำว่า "เกาะหวะห." อยู่ในภาษาอาหรับ เพี้ยนเป็น "กาห์เวห์" ในภาษาตุรกี ก่อนที่จะกลายเป็น "คอฟฟี่" ภาษาอังกฤษ และกลายมาเป็น "กาแฟ" ในภาษาไทยในที่สุด

        มนุษย์รู้จักดื่มกาแฟตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๒ แถบทวีปอัฟริกา มีเรื่องเล่าว่ากาแฟถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อประมาณ ค.ศ. ๑๔๐๐ คนเลี้ยงแพะในเอธิโอเปียชื่อ "คัลได" ต้อนฝูงแพะออกไปหากินแล้วนั่งพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้และเผลอหลับไปในที่สุด เมื่อเขาตื่นขึ้นมาก็พบว่าแพะในฝูงของเขาล้วนมีอาการคึกคัก หลังจากที่กินลูก “เบอรี่” สีแดงจากต้นไม้ใบเขียวชนิดหนึ่ง เขาก็เลยลองชิมดูบ้างและพบว่าตนเองรู้สึกตาสว่าง เต็มไปด้วยพลังงานไม่แตกต่างไปจากแพะในฝูงเลย เขานำสิ่งที่พบนี้ไปปรึกษากับหัวหน้าพระอย่างตื่นเต้น แต่หัวหน้าพระกลับไม่ไว้วางใจลูกเบอรี่นี้จนถึงกับโยนมันเข้ากองไฟ และสั่งสอนชายเลี้ยงแพะว่ามันเป็นสิ่งล่อลวงจากปีศาจร้าย ขณะที่หัวหน้าพระเทศนาชายเลี้ยงแพะอยู่นั้น ลูกเบอรี่ที่ถูกเผาอยู่ในกองไฟนั้นได้ส่งกลิ่นหอมหวน จนพระ องค์อื่น ๆ อดรนทนไม่ได้ต้องเดินตามกลิ่นนั้นมา และนั้นทำให้หัวหน้าพระเปลี่ยนใจคิดใหม่ว่า ลูกเบอรี่นี้เป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้เป็นแน่แท้เพราะกลิ่นของมันเรียกพระองค์อื่น ๆ ให้เข้ามา หัวหน้าพระจึงนำเอาลูกเบอรี่ที่ถูกเผาจนเป็นสีเข้มออกมาบดแล้วเทน้ำใส่ ทำเป็นยาอายุวัฒนะซึ่งทำให้พวกพระตาสว่าง สามารถสวดมนต์สรรเสริญพระเจ้าได้ตลอดทั้งคืน และต่อมาพวกพ่อค้าจึงนำออกไปเผยแพร่

        อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงความเป็นมาของกาแฟว่า มนุษย์คนแรกที่รู้จักและดื่มน้ำกาแฟคือ "มัฟทิ" แห่งเอเดนในสมัยศตวรรษที่ ๙

        ส่วนอีกตำนานหนึ่งบอกว่า ผู้ที่รู้จักรสชาติของ กาแฟเป็นคนแรกคือนักบวชในศาสนาอิสลามชาวตะวันออกกลางชื่อ "เดลี" ผู้มักง่วงเหงาหาวนอนเป็นนิจในขณะสวดมนต์ และนักบวชผู้นี้ได้พิชิต ความง่วงด้วยการดื่มน้ำต้มจากกาแฟ ที่มีคนบอกมาอีกต่อหนึ่ง หลังจากนั้นก็ได้กระจายไปทั่วจนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวตะวันออกกลาง

        สำหรับยุโรปนั้นเริ่มรู้จัก กาแฟเมื่อศตวรรษที่ ๑๗ โดยนักแสวงโชค และผู้ที่ทำไห้กาแฟได้รับความนิยมในยุโรปมากยิ่งขึ้นก็คือ "สุไลมาน อัลกา" ราชทูตประจำราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส หรือราวปี ค.ศ.๑๗๑๕ จากนั้นกาแฟ ก็มีราคาสูงขึ้น เพราะขุนนางฝรั่งเศส ติดกาแฟกันงอมแงม ชาวยุโรปได้รู้จักดื่มกาแฟอย่างจริงจังเมื่อศตวรรษที่ ๑๙ แต่อยู่ในกลุ่มนักเขียนและผู้ฐานะดีเท่านั้น ชาวฝรั่งเศสได้นำไปทดลองปลูก ในตอนใต้ของประเทศแต่ไม่ได้ผล ชาวฮอลแลนด์นำไปทดลองปลูกที่ เกาะลังกาและหมู่เกาะอินเดียตะวันออกได้สำเร็จ ฝรั่งเศสจึงทำตามบ้าง ทั้งสองประเทศนี้หวงพันธุ์กาแฟมาก เมี่อฝรั่งเศสกับฮอลแลนด์มีปัญหา เรื่องพรมแดนในกานา กษัตริย์บราซิลได้ส่งทูตไปไกล่เกลี่ย และแอบนำกาแฟมาขยายพันธุ์ในบราซิล จนกลายเป็นแหล่งฝลิตกาแฟ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาจนถึงทุกวันนี้

        ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

        -ศตวรรษที่ 9 บันทึกเหตุการณ์แจ้งว่ากาแฟได้แพร่หลายจาก เอธิโอเปียสู่ เยเมนโดยกลุ่มพ่อค้าชาวเรือ ปลาย ศตวรรษที่ 16 กลุ่มนักบวชในศาสนาได้คัดค้านการบริโภคกาแฟเนื่องจากความคิดที่ว่ามีสีดำ และเป็นตัวแทนของปีศาจ แต่ก็ไม่ได้มีคำสั่งห้ามใดๆจากพระสันตปะปา

        - ค.ศ. 1656 ราชสำนักตุรกีได้สั่งห้ามการบริโภคกาแฟ โดยมีการกำหนดโทษถ่วงน้ำสำหรับผู้ละเมิด

        - ค.ศ. 1669 การบริโภคกาแฟได้รับความนิยมแพร่หลายในยุโรบ โดยการนำเข้ามาของทูตชาวตุรกีถวายแด่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

        - ค.ศ. 1686 ร้านขายกาแฟร้านแรก "Le Procope" เปิดบริการที่ ปารีส

        - ค.ศ. 1822 เครื่องชงกาแฟแบบ "espresso" เครื่องแรกสร้างขึ้นที่ ฝรั่งเศส

        - ค.ศ. 1908 Melitta Bentz, หญิงชาวบ้านในเมือง เดรสเดน ได้ประดิษฐ์ภาชนะในการกรองกาแฟขึ้นมาใช้

        - ค.ศ. 1909 เริ่มมีการจำหน่ายกาแฟสำหรับรูปพร้อมชง

ประวัตินาฬิกาปลุก

ประวัตินาฬิกาปลุก

        ประวัติของนาฬิกาปลุกเรือนแรกของโลก ประดิษฐ์โดย นายเลวี ฮัตชินส์ ชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ.1787

        ฮัตชินส์เป็นชาวเมืองคองคอร์ด ในรัฐนิวแฮมเชียร์ ตอนนั้นเขามีอายุได้ 26 ปี เขาเป็นคนที่นอนขี้เซามาก และนอนตื่นสายเป็นประจำ อาการนอนขี้เซาตื่นสายไม่ยอมตื่นเมื่อถึงเวลาอันควรนี้เองจึงกลายเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตสำหรับเขา เขาจึงคิดแก้ปัญหาว่าจะทำอย่างไรเมื่อถึงเวลาที่เขาควรจะตื่นนอนนาฬิกาที่เขามีอยู่จะต้องส่งเสียงเตือนให้เขารู้สึกตัวและสะดุ้งตื่นได้ หลังจากคิดได้ก็ลงมือทำ เขาใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ก็ประดิษฐ์ได้สำเร็จ นาฬิกาของเขามีขนาดกว้าง 29 นิ้ว สูง 14 นิ้ว ขนาดค่อนข้างใหญ่และตั้งเปลี่ยนเวลาไม่ได้ เลวีจึงตั้งนาฬิกาเอาไว้ให้ปลุกทุกเช้าตอนตี 4 เป็นประจำ

        นาฬิกาดังกล่าวเลวีคิดเพียงว่าขอให้ได้ใช้งานมีนาฬิกาเอาไว้ปลุกให้ตัวเองตื่นนอนไปทำงานไม่สายเป็นใช้ได้จึงไม่ได้นำไปจดลิขสิทธิ์หรือตั้งเป็นโรงงานผลิตขาย แต่อย่างไรก็ตามถือได้ว่า เลวี คือบุคคลต้นคิดคนแรกที่ทำให้ผู้คนเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีนาฬิกาไว้เพื่อการปลุกและถือเป็นแนวคิดริเริ่มของการมีนาฬิกาปลุกไว้ใช้งานกัน

        ต่อมาตลาดนาฬิกาปลุกมาบูมอีกครั้งในปี ค.ศ.1910 เมื่อบริษัทเวสเทิร์น คล็อก หรือที่รู้จักกันดีกว่า เวสต์คล็อกซ์ (Westclox) ลงโฆษณานาฬิกาปลุกรุ่น "บิ๊กเบน" ในหนังสือพิมพ์แซตเทอร์เดย์ อีฟวนิ่ง โพสต์ และออกจำหน่ายเป็นที่ขายดิบขายดีในปีนั้น

ประวัติแปรงสีฟัน

ประวัติของแปรงสีฟัน

"ประวัติของแปรงสีฟันมีแหล่งกำเนิดและจุดเริ่มต้นมาจากในคุก"

        เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1770 ในสมัยนั้นการทำความสะอาดฟันโดยทั่วไปทำกันโดยใช้เศษผ้าผืนเล็ก ๆ ถูกับฟันเพื่อเป็นการทำความสะอาด

        มีหนุ่มชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อ วิลเลียม แอดดิส ( William Addis ) เป็นนักโทษต้องคดีถูกจองจำอยู่ภายในคุก หลังจากมีเวลาว่างมากภายในคุกที่ถูกจองจำ ทุก ๆ เช้าแอดดิสจะเห็นนักโทษและคนอื่น ๆ นิยมทำความสะอาดฟันกันโดยการใช้เศษผ้าผืนเล็ก ๆ มาถูกับฟันกันทุกคน วันหนึ่งเขาเกิดไอเดียคิดค้นหาวิธีการทำความสะอาดฟันที่น่าจะสะดวกและง่ายกว่าการใช้เศษผ้ามาถูแบบคนอื่น ๆ

        แอดดิสเริ่มจากการเก็บกระดูกชิ้นหนึ่งซึ่งเหลือจากการทานอาหารเย็นของเขา เขาใช้เวลาว่างของทุก ๆ วันนั่งฝนแท่งกระดูกของเขาจนได้ขนาดปลายมนและเรียวพอเหมาะ เขาเจาะรูเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแนวที่ปลายกระดูกด้านนั้น แล้วขอขนแปรงจากผู้คุมมาได้จำนวนหนึ่ง เขานำมันมาตัดให้สั้นพอเหมาะแล้วยัดลงไปในรู ตรึงให้อยู่กับที่ด้วยกาว และทดลองใช้มันทำความสะอาดฟันในทุก ๆ เช้า แทนการใช้ผ้าถูเหมือนกับคนอื่น ๆ

        เมื่อออกจากคุกแอดดิสได้ถ่ายทอดความคิดนี้กับคนอื่น ๆ และเริ่มทำเป็นธุรกิจผลิตเป็นแปรงสีฟันออกมาวางขาย ต่อมามีคนให้ความสนใจต่อผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างล้นหลามเรื่อยมา จนถึงทุกวันนี้ไม่มีใครเลยในโลกที่ไม่รู้จักคำว่า "แปรงสีฟัน"

ต้นกำเนิดของแปรงสีฟัน

ความหมายของเลขบัตรประจำตัวประชาชน


        ประเทศไทยเราเริ่มกำหนดใช้เลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชนมาตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2527 และจัดระบบจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2547

         ความหมายของเลขบัตรประจำตัวประชาชนข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ระบุว่า เลขประจำตัวประชาชนของคนไทยมี 13 หลักเท่ากันทุกคนไม่ซ้ำกัน และไม่มีการเปลี่ยนหรือยกให้ใคร ระบบตัวเลขนี้รองรับจำนวนประชากรได้อีกมากในระดับ 100 ปี

        หลักที่ 1 หมายถึง บุคคลซึ่งมีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่
        "ประเภทที่ 1" คนที่เกิดและมีสัญชาติไทยและได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา 15 วันตามกฎหมาย โดยเกิดตั้งแต่ 1 ม.ค.2527 เป็นต้นไป เด็กคนนั้นถือเป็นบุคคลประเภท 1 มีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1
        "ประเภทที่ 2" คนที่เกิดและมีสัญชาติไทยได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา เมื่อไปแจ้งภายหลังเด็กคนนั้นจะเป็นบุคคลประเภท 2 มีตัวเลขขึ้นด้วยเลข 2
        "ประเภทที่ 3" คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อน 31 พ.ค.2527)
        "ประเภทที่ 4" คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก
        "ประเภทที่ 5" คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆ
        "ประเภทที่ 6" ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6
        "ประเภทที่ 7" บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7
        "ประเภทที่ 8" คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทยตั้งแต่หลัง 31 พ.ค.2527 เป็นต้นไป

        ปัจจุบันคนทั้งแปดประเภทนี้จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้นที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี
        แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้

        หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึง รหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข กล่าวคือ
        เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่
        ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ

        หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 หมายถึง กลุ่มของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่งก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบันเลขดังกล่าวก็จะหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะปรากฏในบัตรประชาชนเมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเองแต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

        หลักที่ 11 ถึงหลักที่ 12 หมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท หรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตร

         หลักที่ 13 เป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรก

ประวัติบัตรประจำตัวประชาชน



        "บัตรประจำตัวประชาชน"เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นเพื่อ ใช้พิสูจน์ทราบและยืนยันเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกสารที่มีสิทธิทำการ เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้งการสมัครงาน การติดต่อธุรกิจการค้า การทำนิติกรรมสัญญา และการติดต่อประสานงานกับส่วนของทางราชการหรือภาคเอกชน

        บัตรประจำตัวประชาชนยังเป็นหลักฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ตรวจสอบบุคคลเพื่อประกอบการออกหนังสือสำคัญต่าง ๆ ในเฉพาะด้าน เช่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง หรือแม้แต่บัตรเครดิตประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้กันในวงการของสถาบันการ เงิน และการธนาคาร ซึ่งหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ความยุ่งยาก สับสนในการยืนยันตัวบุคคลย่อมเกิดขึ้นอีกทั้งจะส่งผลทำให้การติดต่อดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ไม่อาจดำเนินการไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว

        หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่าคนไทยเริ่มมีการใช้หนังสือยืนยันตัวบุคคลปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยในมาตรา 90 บัญญัติว่า "ให้กรมการอำเภอเป็นพนักงานจัดทำทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่ในอำเภอนั้น ๆ เพื่อนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น"

        วัตถุประสงค์ของการออกหนังสือเดินทางรับรองราษฎรดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยตรง เพราะการมีหนังสือเดินทางของทาง ราชการไว้แสดงตัวบุคคลว่า ตัวเขาเป็นใคร มาจากแห่งหนตำบลใด ย่อมทำให้การเดินทางในต่างท้องที่เป็นไปด้วยความ สะดวก และหากเจ้าหน้าที่เกิดความสงสัยขอตรวจค้นตัว ก็สามารถใช้หนังสือเดินทางที่ออกให้ เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้ว่า เป็นคนบริสุทธิ์ที่ทางราชการรับรอง แล้วและไม่ได้เป็นพวกมิจฉาชีพหรือพวกโจรแต่อย่างใด

        หนังสือดังกล่าวจึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในสมัยนั้นและเหมาะสมกับสภาพการเวลาของสังคมเมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้ว ความสำคัญของหนังสือเดินทางตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ จึงไม่แตกต่างไปจากความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน

        "ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชนมีที่มาจากหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรเพื่อใช้เดินทางไปท้องที่ที่อื่นสำหรับการค้าขายติดต่อกันโดยมีกรมการอำเภอ(หรือนายอำเภอปัจจุบัน) เป็นพนักงานทำหนังสือดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486"

        ดังนั้นในปี พ.ศ. 2486 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่8 รัฐบาลโดยการนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอออกกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486" ซึ่งนับเป็นกฏหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่คน ไทย แต่ประกาศและบังคับใช้เฉพาะราษฎรในจังหวัดสองจังหวัดเท่านั้น คือ "จังหวัดพระนคร" และ"จังหวัดธนบุรี" (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)

ลำดับขั้นและวิวัฒนาการของบัตรประจำตัวประชาชน
บัตรประชาชนรุ่นแรก
        บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรกมีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น 4 ตอนคล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด 8 หน้า แต่ละตอนกว้าง 4 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง2ด้านด้านหน้า(ปกหน้า) จะมีรูปครุฑและคำว่า "บัตรประจำ ตัวประชาชน" พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร ด้านหลัง (ปกหลัง) เป็นคำเตือน สำหรับผู้ถือบัตร ให้ระลึกถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยบัตร ประจำตัวประชาชนอาทิเช่น ต้องพกบัตรติดตัวและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอ ต้องขอเปลี่ยนบัตรเมื่อบัตรหมดอายุต้องแจ้งขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในบัตร เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่


ในแต่ละหน้าจะมีการบอกลำดับเลขไว้ดังนี้
        หน้าที่ 1 ระบุข้อความว่าเลขทะเบียนที่ออกบัตร วันที่ออกบัตรออกให้ ณ ที่อำเภอ จังหวัด พร้อมปิดรูปถ่ายของผู้ถือบัตรนาด 2 นิ้ว และมีลายมือผู้ถือบัตรและลาย พิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา
        หน้าที่ 2 เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร ได้แก่ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล วันเดือน ปีเกิด อายุ ตำหนิแผลเป็น รูปพรรณเชื้อชาติ สัญชาติ ชื่อบิดา มารดา ชื่อภริยา หรือ สามี
        หน้าที่ 3เป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฎร ได้แก่ ที่เกิด บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดประเทศที่อยู่บ้านเลขที่ ถนนหมู่บ้าน ตำบลอำเภอ จังหวัดอาชีพ และ มีตราประจำตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่
        หน้าที่ 4 - 6 มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ถือบัตร ลักษณะพื้นบัตรเป็นสีฟ้าอมเขียว มีลายเทพพนมตลอดใบ ด้านหน้าและด้านหลัง ในแต่ละหน้าจะมีรูปแผนที่ประเทศไทย และรูปเรือสุพรรณหงส์กับวัดอรุณราชวรารามเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางรูปประเทศไทย

        บัตรประจำตัวประชาชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีอายุการใช้ 10 ปี เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว ต้องทำคำร้องขอปลี่ยนบัตรโดยเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25 สตางค์ ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีบัตรตามกฎหมาย คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์จนถึง 70 ปีบริบูรณ์ และกำหนดให้ยื่นคำร้อง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2505

         ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองโดยเฉพาะความเจริญของภูมิภาคส่งผลให้ราชการ และประชาชนคนไทยต้องปรับตัวและ ปรับวิถีทางของความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การติดต่อทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนก็เปิดกว้างขวางขึ้น

        บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีจุดอ่อนในด้านการพกพา ทั้งนี้เนื่องจากมีลักษณะใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความไม่สะดวก ต่อผู้ใช้ที่จะต้องนำพกพาติดตัวไปด้วยเสมอ ประกอบกับลักษณะของบัตร หลักการ และวิธีการทางกฎหมายในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ล้าสมัยรัฐบาล ในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและให้สามารถบังคับใช้กับ ประชาชนคนไทยทั่วประเทศ

        ในที่สุดจึงได้ออก "พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505" ซึ่งให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เป็นต้นมาโดยการออกบัตรจะมี "กรมการปกครอง" เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการออกบัตรประจำตัวประชาชนทั่วประเทศ

         สาระสำคัญที่แตกต่างไปฉบับปี พ.ศ. 2486 มีหลายประการ อาทิ เช่น กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องมีบัตรต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ บัตรมีอายุ 6 ปี กำหนดค่าธรรมเนียมในการออกบัตรหรือเปลี่ยนบัตร ไว้ฉบับละ 5 บาท และให้ยกเลิกบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก เปลี่ยนมาใช้บัตรรุ่นใหม่แทน


บัตรประชาชนรุ่นที่สอง
         ลักษณะของบัตรรุ่นที่สองเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เซ็นติเมตร ยาว 9 เซ็นติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปตราครุฑอยู่ตรงกลาง มีข้อความ "สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย" วันที่ออกบัตรและ วันบัตรหมดอายุด้านหลังจะเป็นรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย รูปถ่ายที่ มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุต ใต้รูปจะมีเลขและคัวอักษรแสดงถึงอำเภอที่ออกบัตรและเลขทะเบียนบัตรและตรา ประจำตำแหน่งเจ้าพนักงานออกบัตร ปรากฎอยู่ทางด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะมี ชื่อตัวชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร


        บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สองนี้เป็นบัตรรูปขาว-ดำ รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วย เครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา คนไทยได้ทำบัตรรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี 2506 จนถึงสิ้นปี 2530 รวม 24 ปี ประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบัตรจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายของคนไทยในช่วง ระหว่างปีดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526 : กฎหมายฉบับปัจจุบัน

        พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ใช้บังคับได้ประมาณ 21 ปีพบจุดอ่อนหลายประการข้อสำคัญคืออายุของผู้ที่จะต้องมีบัตรที่กำหนด ไว้17ปีบริบูรณ์ ไม่สัมพันธ์กับกฎหมายคุ้มครองแรงงานประกอบกับกฎหมายฉบับ นี้กำหนดการให้นับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้จำนวนประชาชนผู้ขอยื่นคำขอมี บัตรประจำตัวประชาชน จะมายื่นทำบัตรกันมากในช่วงตั้งแต่วันที่1มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี ปัญหาทางข้อกฎหมายทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้ อย่างทั่วถึง

        ในสมัยรัฐบาลที่มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้ยกเลิก พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 และตรา "พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526" ขึ้นใช้บังคับแทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

        กฎหมายฉบับนี้มีข้อเด่นในเรื่องการปรับปรุงจุดอ่อนของกฎหมายฉบับก่อน ได้แก่ การลดอายุของผู้ที่จะต้องขอมีบัตรจาก 17 ปีบริบูรณ์ เป็น 15 ปีบริบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานการนับอายุผู้ขอมี บัตร15ปีบริบูรณ์ให้นับชนวันเดือนปีเกิดของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการนับอายุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนั้น ได้ขยายระยะเวลาการขอมีบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 60 วัน เป็น 90 วัน กำหนดให้บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ70ปีบริบูรณ์ สามารถ ใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับบัตร และบทลงโทษเพิ่มขึ้น และไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการขอมีบัตรครั้งแรกหรือขอมี บัตรใหม่เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ

        การเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนในครั้งนี้มิได้ส่งผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ และลักษณะของบัตรประจำตัวประชาชนแต่อย่างใด ลักษณะของบัตรยังคงเหมือนเดิมทุกประการ


บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สาม
        การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตบัตร ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในเชิง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสูงขึ้น ทั้งประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตย ค่าย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และค่ายประเทศที่สาม ทำใหมีบุคคลต่างด้าวเข้ามา อยู่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในลักษณะของผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตาม กฎหมายและผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบ ความต้องการบัตรประจำตัวประชาชนใน หมู่ของคนต่างด้าวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยได้เยี่ยงคน ไทย ก่อให้เกิดปัญหาการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนระบาดอย่างหนัก

        นอกจากนี้ตัวแปรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคเอกชนและ ราชการไทย สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องกระตุ้นให้มีการเรียกร้องปรับปรุงรูป โฉมของบัตรประจำตัวประชาชนให้สวยงาม ก้าวหน้า ทันสมัย และสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้มากขึ้น

        ด้วย เหตุนี้ คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติรสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีมติเมื่อวันที่30 เมษายน 2529เห็นชอบโครงการปรับปรุงระบบการผลิต บัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และ อนุมัติให้ดำเนินการได้ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นของการ พลิกโฉมหน้าของบัตรประจำตัวประชาชน มาสู่รูปแบบใหม่เป็นบัตรรุ่นที่ 3


        บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 3 นี้ ลักษณะบัตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 5.4 เซ็นติเมตร ยาว8.4เซ็นติเมตร ตัวบัตรจะเป็นสีขาวและมีลายพื้นเป็นเส้นสีฟ้า ทั่วบัตรทั้งสองด้าน ด้านหน้าของบัตรมีรูปครุฑอยู่ตรงกลาง มีตัวอักษรคำ ว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" อยู่ด้านบนครุฑคำว่า "กรมการปกครอง" อยู่ด้านซ้าย คำว่า "กระทรวงมหาดไทย" อยู่ด้านขวา ส่วนด้านล่างครุฑมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตรและตรา ประจำตำแหน่ง สำหรับ ด้านหลังของบัตรแถวบนสุดจะมีเลขประจำตัว13หลักซึ่งเป็นเลขชุดเดียวกับที่ ปรากฎในทะเบียนบ้าน ถัดมาจะมีเลข8 หลัก ซึ่งเลข 2 หลักแรกบ่งบอกถึงรอบของการออกบัตร ส่วนเลข6หลักต่อมาหมายถึงลำดับที่ของการทำบัตร ถัดลงมาด้านซ้ายจะมีรูปถ่ายของผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ โดยมี เส้นแสดงส่วนสูงเป็นเซ็นติเมตร ส่วนด้านขวาจะมีรายการของผู้ถือบัตร ประกอบ ด้วย ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด วันออกบัตร วันบัตรหมดอายุ และ ที่อยู่

        ลักษณะที่พัฒนาซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของบัตรรุ่นนี้ คือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูป สี พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีการป้องกัน การปลอมแปลงด้วยการเคลือบวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ มีลาย สัญญลักษณ์รูปสิงห์ และคำว่า"กรมการปกครอง" ฝังอยู่ในเนื้อวัสดุไม่สามารถ มองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า การจัดเก็บข้อมูลผู้ทำบัตรและการตรวจสอบรายการ บัตรเดิมถูกดำเนินการในรูปของฐานข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์

        บัตรประจำตัวประชาชนระบบนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สี่(บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค)
         การพัฒนาระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน มิได้หยุดนิ่งแค่บัตรรุ่นที่สามเท่า นั้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุคโลกาภิวัฒน์ประกอบกับความ สมบูรณ์ของระบบฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนและแรงผลักดันในเรื่อง การให้บริการประชาชน ก่อให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดทำบัตร ประจำตัวประชาชนให้ทันสมัย ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

        กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอ "โครงการจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทาง ด้านการทะเบียนและบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ฯ" โดยเป้าหมายหลักที่จะนำระบบ คอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบทั้งระบบ เปลี่ยนแปลงรูปโฉมของบัตรให้ทันสมัย และเพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการ ให้บริการประชาชน ให้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องทั้งนี้การผลิตบัตรจะกระจายไปถึงสำนักทะเบียนแต่ละแห่ง ประชาชน ที่มาทำบัตร สามารถรอรับบัตรได้ทันทีด้วยความรวดเร็ว ภายในวันที่ติดต่อขอทำบัตร โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับ บ.ป.2 หรือใบเหลืองอีกต่อไป

        โครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 หลังจากติดตั้งระบบและให้บริการด้านทะเบียนราษฎรแล้ว กรมการปกครองจึง สามารถเปิดระบบให้บริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่เป็นครั้งแรก ณที่ ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร โดยถือปฐมฤกษ์ในวันที่ 5ธันวาคม 2539 เพื่อเป็นสิริมงคลในวโรกาสฉลองปีกาญจนาภิเษกและเฉลิมพระ ชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

        ในด้านกฎหมายนั้นยังคงใช้ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชนพ.ศ. 2526 เพื่อ บริการประชาชนในการขอทำบัตรในกรณีต่างๆ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อรองรับการ จัดทำบัตรระบบใหม่ ได้แก่ การออกกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของบัตร และ การประกาศกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการเท่านั้น


ลักษณะของบัตรรุ่นใหม่นี้มีดังนี้
        1. ลักษณะ ของบัตร ตัวบัตรทำด้วยพลาสติก มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงขนาดมาตรฐาน สากล (ISO) กว้าง 5.4 เซ็นติ-เมตร ยาว 8.6 เซ็นติเมตร หนา 0.76 มิลลิเมตร พื้นบัตรทั้งสองด้านเป็นสีขาว มีลายสีฟ้า
        2. ด้าน หน้าของบัตร มีรูปถ่ายเจ้าของบัตร พร้อมรายการเกี่ยวกับประวัติของเจ้าของ บัตร ได้แก่เลขประจำตัวประชาชน 13หลัก ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปี เกิด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หมู่โลหิต วันที่ออกบัตร วันที่บัตรหมดอายุ และมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตร
        3. ด้านหลังของบัตร มีคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย"รูปครุฑ และแถบแม่เหล็ก สำหรับบันทึกข้อมูลของเจ้าของ บัตร นอกจากนี้จะมีรหัสกำกับบัตร ซึ่งเป็นชุดของตัวเลขผสมตัว อักษร เพื่อควบคุมกำกับการออกบัตรของแต่ละสำนักทะเบียนด้วย

        บัตรรุ่นใหม่นี้ เรียกกันว่า"บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค" เนื่อง จากทุกขั้นตอนตั้งแต่การพิมพ์คำขอมีบัตร รายการบุคคลของผู้ขอมีบัตร ซึ่ง รวมถึงภาพใบหน้า การลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานออกบัตร และการตรวจสอบหลักฐานรายการบัตรเดิมดำเนิน การด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

        การให้บริการจัดทำบัตรระบบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์นั้น จะดำเนินการในรูปแบบของการ ตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ภาค จำนวน9ภาค เพื่อควบคุมและดูแลระบบการดำเนินงานของ สำนักทะเบียนทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งตามโครงการฯ กำหนดเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปี2539-2544 โดยมีแผนปฏิบัติการขยายเขตให้บริการ ดังนี้
        - 5 ธันวาคม 2539 ได้เปิดบริการแล้วที่ อำเภอเมืองปทุมธานี และ กรุงเทพมหานครทุกเขต
        - ประมาณเดือน เมษายน 2540 จะเริ่มเปิดระบบให้บริการเพิ่มอีก 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นครราชสีมาเชียงใหม่ และสงขลา
         -ประมาณเดือนธันวาคม2540 บริการเพิ่มอีก4จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม อุดรธานี พิษณุโลกและสุราษฎร์ธานี
         -ปีพ.ศ.2541-2544 จะดำเนินการเพิ่มใน67จังหวัดที่เหลือทั่วประเทศ การขยายบริการเป็นการดำเนินการภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ

บทสรุป
        ตั้งแต่เริ่มมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกปี พ.ศ.2486 จนถึงฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นฉบับที่สาม ในปีพ.ศ.2526 ประชาชนคน ไทยมีบัตรประจำตัวประชาชนใช้มาแล้ว 4 รุ่นดังนี
        บัตรรุ่นแรก มี ลักษณะคล้ายแผ่นพับขนาดเล็ก 4 ตอน มีทั้งหมด 8 หน้า เริ่มใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2486จนถึงสิ้นปีพ.ศ.2505 ออกให้เฉพาะประชาชนใน พื้นที่จังหวัดกรุงเทพและธนบุรี(กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)

        บัตรรุ่นที่สอง มี ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพกพาติดตัวได้ สะดวกมี 2 ด้าน รูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปขาว-ดำ พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา และเคลือบด้วยพลาสติก ใส เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ.2506 จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2536รวมทั้งสิ้น 30 ปี

         บัตรรุ่นที่สาม มี ลักษณะคล้ายกับบัตรรุ่นที่สอง จุดแตกต่างคือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสี ธรรมชาติ พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และเคลือบ ด้วยวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่1มกราคม 2531เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันขณะนี้ยังให้บริการทั่วประเทศยกเว้นเขตท้องที่ ซึ่งเปิดให้บริการทำบัตรรุ่นที่สี่

         บัตรรุ่นที่สี่มีลักษณะคล้ายบัตรเครดิตมีแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลเจ้าของบัตร และผลิตด้วย คอมพิวเตอร์ทั้งระบบรายการใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาในบัตรรุ่นนี้คือ การ ระบุหมู่โลหิต เพื่อประโยชน์ในเรื่องคลังข้อมูลแหล่งโลหิตของสภากาชาดไทย บัตรรุ่นนี้เริ่มทยอยใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่5ธันวาคม2539 ใน เขตท้องที่อำเภอเมืองปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร และจะขยายการบริการเพิ่ม ขึ้นตามลำดับ

        ในอนาคตบัตรประจำตัวประชาชนจะทวีความสำคัญและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อเจ้าของ บัตรในด้านต่างๆมากขึ้นเช่น อาจใช้แทนทะเบียนบ้าน เป็นบัตรเสียภาษีหรือ อาจจะรวมทั้งเป็นใบขับขี่ด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะ กำหนดให้ดำเนินการในลักษณะใด และถ้าจะว่าไปแล้วน่าจะมุ่งสู่วลีที่ว่า "อยู่เมืองไทย พกบัตรใบเดียวก็พอ" ซึ่งก็หมายถึง"บัตรประจำตัวประชาชน" นั่นเอง